วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2558

โปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์

java_logo

            
         















เรามารู้จักกับประวัติภาษา JAVAกันเถอะ

   Java คือภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุที่พัฒนาโดย เจมส์ กอสลิงร่วมกับวิศวกรคนอื่นๆ ที่บริษัทซัน ไมโครซิสเต็มส์ มีจุดประสงค์เพื่อใช้แทนภาษาซีพลัสพลัส C++ โดยรูปแบบที่เพิ่มเติมขึ้นนั้นจะคล้ายกับภาษาอ็อบเจกต์ทีฟซี (Objective-C) จุดเด่นของภาษา Java จะอยู่ที่ผู้เขียนโปรแกรมสามารถใช้หลักการของ Object-Oriented Programming มาพัฒนาโปรแกรมของตนด้วย Java ได้ จาวาถูกพัฒนาขึ้นโดยทีมวิจัยของ บริษัท ซันไมโครซิสเต็ม (Sun Microsystems)พัฒนามาจากโครงการที่ต้องการพัฒนาระบบซอฟต์แวร์เพื่อควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็กภายในบ้าน ภาษาจาวาเริ่มเป็นที่นิยมแพร่หลายในปี ค.ศ. 1995 ภาษาจาวาเป็นภาษาที่ไม่ขึ้นกับแพลตฟอร์ม (platform independent)JDK 1.0 ประกาศใช้เมื่อปี1996JDK เวอร์ชันปัจจุบันคือ Java 2
วิวัฒนาการของภาษาจาวาจากรุ่นแรกถึงจาวา1.5
1.  (ค.ศ. 1996) — ออกครั้งแรกสุด
2.  (ค.ศ. 1997) — ปรับปรุงครั้งใหญ่ โดยเพิ่ม Inner Class
3.  (4 ธันวาคม ค.ศ. 1998) — รหัส Playground ด้านจาวาแพลตฟอร์มได้รับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ใน API และ JVM (API สำคัญที่เพิ่มมาคือ Java Collections Framework และ Swing; ส่วนใน JVM เพิ่ม JIT Compiler) แต่ตัวภาษาจาวานั้น เปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย (เพิ่มคีย์เวิร์ด strictfp) และทั้งหมดถูกเรียกชื่อใหม่ว่า “จาวา 2″ แต่ระบบเลขรุ่นยังไม่เปลี่ยนแปลง
4.  (8 พฤษภาคม ค.ศ. 2000) — รหัส Kestrel แก้ไขเล็กน้อย
5.  (13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2002) — รหัส Merlin เป็นรุ่นที่ถูกใช้งานมากที่สุดในปัจจุบัน (ขณะที่เขียน ค.ศ. 2005)
6.  (29 กันยายน ค.ศ. 2004) — รหัส Tiger (เดิมทีนับเป็น 1.5) เพิ่มคุณสมบัติใหม่ในภาษาจาวา เช่น Annotations ซึ่งเป็นที่ถกเถียงกันว่านำมาจากภาษาซีชาร์ป ของบริษัทไมโครซอฟท์, Enumerations, Varargs, Enhanced for loop, Autoboxing, และที่สำคัญคือ Generics


ความหมายของภาษาจาวา
ภาษาจาวา (Java Language) คือ ภาษาคอมพิวเตอร์ที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัท ซันไมโครซิสเต็มส์ เป็นภาษาสำหรับเขียนโปรแกรมที่สนับสนุนการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ (OOP : Object-Oriented Programming) โปรแกรมที่เขียนขึ้นถูกสร้างภายในคลาส ดังนั้นคลาสคือที่เก็บเมทอด (Method) หรือพฤติกรรม (Behavior) ซึ่งมีสถานะ (State) และรูปพรรณ (Identity) ประจำพฤติกรรม (Behavior)
การโปรแกรมเชิงวัตถุ (OOP = Object-Oriented Programming)
การเขียนโปรแกรมที่ประกอบด้วยกลุ่มของวัตถุ(Objects) แต่ละวัตถุจะจัดเป็นกลุ่มในรูปของคลาส ซึ่งแต่ละคลาสอาจมีคุณสมบัติ การปกป้อง (Encapsulation) การสืบทอด (Inheritance) การพ้องรูป (Polymorphism)
แนวคิดของการโปรแกรมเชิงวัตถุ (OOP Concepts)
1. การปกป้อง (Encapsulation)
– การรวมกลุ่มของข้อมูล และกลุ่มของโปรแกรม เพื่อการปกป้อง และเลือกตอบสนอง
2. การสืบทอด (Inheritance)
– ยอมให้นำไปใช้ หรือเขียนขึ้นมาทดแทนของเดิม
3. การพ้องรูป (Polymorphism) = Many Shapes
– Overloading มีชื่อโปรแกรมเดียวกัน แต่รายการตัวแปร (Parameter List) ต่างกัน
– Overriding มีชื่อโปรแกรม และตัวแปรเหมือนกัน เพื่อเขียน behavior ขึ้นมาใหม่

จุดเด่นของภาษาจาวา
–  ความง่าย (simple)
–  ภาษาเชิงออปเจ็ค (object oriented)
–  การกระจาย (distributed)
–  การป้องกันการผิดพลาด (robust)
–  ความปลอดภัย (secure)
–  สถาปัตยกรรมกลาง (architecture neutral)
–  เคลื่อนย้ายง่าย (portable)
–  อินเตอร์พ์พรีต (interpreted)
–  ประสิทธิภาพสูง (high performance)
–  มัลติเธรด (multithreaded)
–  พลวัต (dynamic)

ภาษาจาวามีข้อดีอย่างไร?
 ภาษาจาวาสามารถ ทำงานได้กับทุกระบบปฏิบัติการ โดยอาศัยตัวกลาง
n    ทำงานบนเว็บเบราเซอร์ได้
n    ความปลอดภัยสูง
n    สนับสนุนงานหลายระดับ
n    สามารถทำงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างระบบได้
n    ภาษาจาวาเป็นภาษาเชิงวัตถุ
n    ความทันสมัย
n    ความเรียบง่าย
n    กลไกในการคืนพื้นที่ในหน่วยความจำอัตโนมัติ (garbage collection)
n    มีคลาสและอินเตอร์เฟซให้ใช้เยอะมาก
n    794 interfaces
n    2485 classes
n    ฟรี
 ภาษาจาวามีข้อเสียอย่างไร?
 ข้อเสียของภาษาจาวา คือช้า ดังนั้น ท่านจะสังเกตเห็นการใช้ภาษา java เป็น ภาษาที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในการเขียนเว็บ มันอาจจะยากสำหรับใคร แต่มันคงไม่ยากเกินความตั้งใจของทุก ๆ คน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น